วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

...

                                                                     โปเกมอน
โปเกมอน (ญี่ปุ่น: ポケモン Pokémon ?) หรือในชื่อเต็มว่า พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター Poketto Monsutā ทับศัพท์จาก Pocket Monster ?[1][2]) เป็นสื่อแฟรนไชส์ที่จัดพิมพ์และเป็นของนินเทนโดบริษัทวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่น และสร้างโดยซาโตชิ ทาจิริ เมื่อปี ค.ศ. 1996 แรกเริ่มออกจำหน่ายวิดีโอเกมแนวบทบาทสมมุติบนเครื่องเล่นสายเกมบอยชนิดเล่นเชื่อมกันได้ระหว่างเครื่องต่อเครื่องพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีค ตั้งแต่นั้นมา โปเกมอนกลายมาเป็นสื่อแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จและได้กำไรมากเป็นอันดับ 2 รองจากแฟรนไชส์มาริโอ[3] โปเกมอนถูกจำหน่ายในรูปของอะนิเมะ มังงะ เกมสะสมการ์ด ของเล่น หนังสือ และสื่ออื่นๆ แฟรนไชส์โปเกมอนได้ฉลองครบรอบ 10 ปีไปเมื่อปี ค.ศ. 2006[4] และจนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ยอดขายสะสมของวิดีโอเกม (รวมถึงเครื่องเล่นเกมคอนโซล เช่น นินเทนโด 64 ลายพิกะจู) ขึ้นถึงมากกว่า 200 ล้านสำเนา[5] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 บริษัท 4คิดส์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ที่จัดการเกี่ยวกับลิขสิทธิ์โปเกมอนที่ไม่ใช่เกม ประกาศว่าบริษัทเห็นว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงตัวแทนแฟรนไชส์โปเกมอนใหม่ บริษัทโปเกมอนของสหรัฐอเมริกา (ปัจจุบันคือบริษัทเดอะโปเกมอน) สาขาย่อยของบริษัทโปเกมอนในญี่ปุ่น มีหน้าที่ตรวจตราลิขสิทธิ์โปเกมอนนอกทวีปเอเชีย[6]
ชื่อโปเกมอนเป็นการย่อคำโรมะจิของยี่ห้อ พ๊อคเก็ต มอนสเตอร์ Pocket Monsters (ポケットモンスター Poketto Monsutā?)[7] ซึ่งเป็นการย่อคำที่พบได้ทั่วไปในญี่ปุ่น คำว่าโปเกมอน นอกจากจะอ้างถึงตัวแฟรนไชส์โปเกมอนแล้ว ยังหมายถึงสิ่งมีชีวิตในนิยาย 649 สปีชีส์ ที่ปรากฏตัวในสื่อโปเกมอนซึ่งได้ออกมาถึงเกมโปเกมอนรุ่นที่ห้าในชื่อ โปเกมอนแบล็ค 2 และไวท์ 2 และด้วยรุ่นใหม่ที่กำลังจะออกมาของโปเกมอนเอ็กซ์และวาย มีโปเกมอนชนิดใหม่ 6 ตัวปรากฏในสื่อสนับสนุนตัวเกมตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

                                                                    แนวคิด
แนวคิดเกี่ยวกับโลกโปเกมอน ทั้งวิดีโอเกมและโลกนิยายของโปเกมอน เกิดมาจากงานอดิเรกสะสมแมลง ซึ่งซาโตชิ ทาจิริ กรรมการบริหารบริษัทโปเกมอนเคยทำเมื่อยังเด็ก ตัวผู้เล่นในเกมถูกกำหนดให้เป็นโปเกมอนเทรนเนอร์ หรือนักฝึกโปเกมอน และมีเป้าหมายสองประการ (ในเกมโปเกมอนส่วนใหญ่) คือ สะสมโปเกมอนทุกชนิดในภูมิภาคที่เกมกำหนดเพื่อให้เติมเต็มโปเกเด็กซ์ หรือสมุดภาพโปเกมอน และเพื่อฝึกฝนทีมของโปเกมอนที่พวกเขาจับได้ให้เอาชนะทีมโปเกมอนของนักฝึกโปเกมอนคนอื่น และกลายเป็นนักฝึกโปเกมอนที่แข็งแกร่งที่สุดเรียกว่า โปเกมอนมาสเตอร์ รูปแบบการสะสม การฝึก และต่อสู้นั้นพบได้ในแฟรนไชส์โปเกมอนทุกเวอร์ชัน รวมถึงวิดีโอเกม ซีรีส์อะนิเมะ และมังงะ และโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม (Pokémon Trading Card Game)
ในโลกนิยายของโปเกมอนนั้น นักฝึกที่พบโปเกมอนป่าจะสามารถจับโปเกมอนตัวนั้นโดยโยนโปเกบอล (อุปกรณ์ทรงกลมที่ออกแบบพิเศษที่ถูกผลิตออกมามาย) ไปที่มัน ถ้าโปเกมอนหลบหนีจากขอบเขตของโปเกบอลไม่สำเร็จ จะถือว่าโปเกมอนตัวนั้นเป็นของนักฝึกคนนั้นทันที ในภายหลัง มันจะเชื่อฟังคำสั่งของนักฝัก ถ้าหากผู้ฝึกไม่ขาดประสบการณ์จนทำให้โปเกมอนเอาแต่ใจตัวเอง นักฝึกสามารถส่งโปเกมอนตัวใดตัวหนึ่งของเขาออกไปเข้าร่วมต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่นในแบบไม่ถึงชีวิต ถ้าโปเกมอนฝั่งตรงข้ามเป็นโปเกมอนป่า นักฝึกสามารถจับโปเกมอนนั้นได้ด้วยโปเกบอล และเป็นการเพิ่มโปเกมอนชนิดใหม่ในคอลเลคชันของเขา โปเกมอนที่มีเจ้าของอยู่แล้วไม่อาจถูกจับได้ เว้นแต่ในสถานการณ์พิเศษ ณ จุดใดจุดหนึ่งของเกม ถ้าโปเกมอนเอาชนะคู่ต่อสู้ได้จนคู่ต่อสู้หมดสภาพ (นั่นคือ หมดสติ) โปเกมอนที่ชนะจะได้รับค่าประสบการณ์ และอาจได้เพิ่มระดับหรือเลเวล เมื่อเลเวลเพิ่ม ค่าสถิติ (หรือค่าสเตต) ของในความสถัดแต่ละด้านของโปเกมอนจะเพิ่มขึ้น เช่น ค่าการโจมตีและค่าความเร็ว ตลอดเวลานั้น โปเกมอนอาจได้เรียนรู้ท่า (มูฟ) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการต่อสู้ นอกจากนี้ โปเกมอนหลายสปีชีส์ยังมีลักษณะพิเศษในการลอกคราบและเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นโปเกมอนสปีชีส์ใหม่ที่คล้ายๆกันแต่แข็งแกร่งขึ้น เรียกกระบวนการนี้ว่า การวิวัฒนาการ
ในเนื้อเรื่องหลัก โหมดเล่นคนเดียวของแต่ละเกมต้องการให้นักฝึกโปเกมอนเลี้ยงดูทีมโปเกมอนเพื่อเอาชนะนักฝึกที่เป็นตัวละครที่ไม่ใช่ตัวผู้เล่น (non-player character: NPC) มากมายและโปเกมอนของพวกเขา แต่ละเกมได้ปูเส้นทางเป็นเส้นตรงผ่านภูมิภาคของโลกโปเกมอนสำหรับให้นักฝึกเดินทาง ดำเนินเหตุการณ์สำคัญ (event) และต่อสู้กับคู่ต่อสู้ในระหว่างทาง คุณลักษณะของแต่ละเกมจะเสนอนักฝึกโปเกมอนผู้ทรงพลัง 8 คน เรียกว่า ยิมลีดเดอร์ หรือหัวหน้ายิม ที่นักฝึกจะต้องเอาชนะเพื่อดำเนินเนื้อเรื่อง และจะได้เข็มกลัดยิมเป็นรางวัล และเมื่อได้เข็มกลัดครบ 8 อัน นักฝึกโปเกมอนคนนั้นจะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันในโปเกมอนลีกประจำภูมิภาค ซึ่งนักฝึกผู้มีพรสวรรค์ 4 คน (เรียกว่า Elite Four หรือ จตุรเทพทั้งสี่) จะท้าต่อสู้กับนักฝึกให้ต่อสู้ 4 ครั้งแบบรับช่วงต่อกัน ถ้านักฝึกเอาชนะฝีมือของบุคคลเหล่านี้ได้ เขาจะต้องท้าต่อสู้กับแชมเปียนประจำภูมิภาค (Regional Champion) ผู้เป็นนักฝึกระดับมาสเตอร์ที่เพิ่มเอาชนะจตุรเทพทั้งสี่ได้ นักฝึกคนใดที่ชนะการต่อสู้ครั้งสุดท้ายนี้จะกลายเป็นแชมเปียนคนใหม่ และได้ชื่อว่าเป็นโปเกมอนมาสเตอร์
                                                                  โปเกมอนเริ่มต้น
อีกมุมมองที่สอดคล้องกันของเกมโปเกมอน ตั้งแต่โปเกมอน เร้ด และ บลู บนเครื่องเกมบอย ไปจนถึงโปเกมอนแบล็ค และ ไวท์บนเครื่องนินเทนโด ดีเอส คือการที่ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนหนึ่งในสามที่กำหนดไว้เป็นตัวเริ่มต้นของการผจญภัย เรียกโปเกมอนสามตัวเหล่านี้ว่า "โปเกมอนเริ่มต้น" (starter Pokémon) ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช รูปแบบไฟ หรือรูปแบบน้ำได้[20] ตัวอย่างเช่น ในโปเกมอนเร้ด และ บลู (และเวอร์ชันรีเมค ไฟร์เร้ด และ ลีฟกรีน) ผู้เล่นสามารถเลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ แต่ในโปเกมอนเยลโล่ว์ ซึ่งเป็นภาคที่สร้างขึ้นโดยมีเนื้อเรื่องอ้างอิงตามเนื้อเรื่องของอะนิเมะ ผู้เล่นจะได้รับพิกะจู รูปแบบไฟฟ้า มาเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในภาคนี้ ผู้เล่นจะได้รับโปเกมอนเริ่มต้นสามตัวของภาค เร้ด และ บลู ระหว่างทางในภายหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในเกมอื่น ๆ ของแฟรนไชส์[21] อีกมุมมองหนึ่ง คู่แข่งของผู้เล่นจะเลือกโปเกมอนเริ่มต้นที่มีรูปแบบได้เปรียบกับโปเกมอนของเราเสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เล่นเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช คู่แข่งก็จะเลือกโปเกมอนรูปแบบไฟ เป็นต้น แต่ในโปเกมอน เยลโล่ว์ ซึ่งมีข้อยกเว้นนั้น คู่แข่งจะเลือกอีวุยเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่ต่อมาอีวุยจะพัฒนาร่างได้เป็นธันเดอร์ส ชาวเวอร์ส หรือบูสเตอร์นั้น จะถูกตัดสินจากผลการต่อสู้กับคู่แข่งว่าแพ้หรือชนะในระหว่างทาง ในเกมบนเครื่องเล่น เกมคิวบ์ ที่ชื่อ โปเกมอนโคลอสเซียม และโปเกมอนเอ็กดี: เกลออฟดาร์คเนส ก็มีข้อยกเว้น นั้นคือในขณะที่เกมส่วนใหญ่ โปเกมอนเริ่มต้นจะเริ่มที่เลเวล 5 แต่เกมเหล่านี้จะเริ่มต้นการเดินทางที่เลเวล 10 และ 25 ตามลำดับ ใน โคลอสเซียม โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือเอฟี และแบล็คกี้ และใน เกลออฟดาร์คเนส โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือ อีวุย
อีกมุมมองที่สอดคล้องกันของเกมโปเกมอน ตั้งแต่โปเกมอน เร้ด และ บลู บนเครื่องเกมบอย ไปจนถึงโปเกมอนแบล็ค และ ไวท์บนเครื่องนินเทนโด ดีเอส คือการที่ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนหนึ่งในสามที่กำหนดไว้เป็นตัวเริ่มต้นของการผจญภัย เรียกโปเกมอนสามตัวเหล่านี้ว่า "โปเกมอนเริ่มต้น" (starter Pokémon) ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช รูปแบบไฟ หรือรูปแบบน้ำได้[20] ตัวอย่างเช่น ในโปเกมอนเร้ด และ บลู (และเวอร์ชันรีเมค ไฟร์เร้ด และ ลีฟกรีน) ผู้เล่นสามารถเลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ แต่ในโปเกมอนเยลโล่ว์ ซึ่งเป็นภาคที่สร้างขึ้นโดยมีเนื้อเรื่องอ้างอิงตามเนื้อเรื่องของอะนิเมะ ผู้เล่นจะได้รับพิกะจู รูปแบบไฟฟ้า มาเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในภาคนี้ ผู้เล่นจะได้รับโปเกมอนเริ่มต้นสามตัวของภาค เร้ด และ บลู ระหว่างทางในภายหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในเกมอื่น ๆ ของแฟรนไชส์[21] อีกมุมมองหนึ่ง คู่แข่งของผู้เล่นจะเลือกโปเกมอนเริ่มต้นที่มีรูปแบบได้เปรียบกับโปเกมอนของเราเสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เล่นเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช คู่แข่งก็จะเลือกโปเกมอนรูปแบบไฟ เป็นต้น แต่ในโปเกมอน เยลโล่ว์ ซึ่งมีข้อยกเว้นนั้น คู่แข่งจะเลือกอีวุยเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่ต่อมาอีวุยจะพัฒนาร่างได้เป็นธันเดอร์ส ชาวเวอร์ส หรือบูสเตอร์นั้น จะถูกตัดสินจากผลการต่อสู้กับคู่แข่งว่าแพ้หรือชนะในระหว่างทาง ในเกมบนเครื่องเล่น เกมคิวบ์ ที่ชื่อ โปเกมอนโคลอสเซียม และโปเกมอนเอ็กดี: เกลออฟดาร์คเนส ก็มีข้อยกเว้น นั้นคือในขณะที่เกมส่วนใหญ่ โปเกมอนเริ่มต้นจะเริ่มที่เลเวล 5 แต่เกมเหล่านี้จะเริ่มต้นการเดินทางที่เลเวล 10 และ 25 ตามลำดับ ใน โคลอสเซียม โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือเอฟี และแบล็คกี้ และใน เกลออฟดาร์คเนส โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือ อีวุย
อีกมุมมองที่สอดคล้องกันของเกมโปเกมอน ตั้งแต่โปเกมอน เร้ด และ บลู บนเครื่องเกมบอย ไปจนถึงโปเกมอนแบล็ค และ ไวท์บนเครื่องนินเทนโด ดีเอส คือการที่ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนหนึ่งในสามที่กำหนดไว้เป็นตัวเริ่มต้นของการผจญภัย เรียกโปเกมอนสามตัวเหล่านี้ว่า "โปเกมอนเริ่มต้น" (starter Pokémon) ผู้เล่นสามารถเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช รูปแบบไฟ หรือรูปแบบน้ำได้[20] ตัวอย่างเช่น ในโปเกมอนเร้ด และ บลู (และเวอร์ชันรีเมค ไฟร์เร้ด และ ลีฟกรีน) ผู้เล่นสามารถเลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ แต่ในโปเกมอนเยลโล่ว์ ซึ่งเป็นภาคที่สร้างขึ้นโดยมีเนื้อเรื่องอ้างอิงตามเนื้อเรื่องของอะนิเมะ ผู้เล่นจะได้รับพิกะจู รูปแบบไฟฟ้า มาเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในภาคนี้ ผู้เล่นจะได้รับโปเกมอนเริ่มต้นสามตัวของภาค เร้ด และ บลู ระหว่างทางในภายหลัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในเกมอื่น ๆ ของแฟรนไชส์[21] อีกมุมมองหนึ่ง คู่แข่งของผู้เล่นจะเลือกโปเกมอนเริ่มต้นที่มีรูปแบบได้เปรียบกับโปเกมอนของเราเสมอ ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เล่นเลือกโปเกมอนรูปแบบพืช คู่แข่งก็จะเลือกโปเกมอนรูปแบบไฟ เป็นต้น แต่ในโปเกมอน เยลโล่ว์ ซึ่งมีข้อยกเว้นนั้น คู่แข่งจะเลือกอีวุยเป็นโปเกมอนเริ่มต้น แต่ต่อมาอีวุยจะพัฒนาร่างได้เป็นธันเดอร์ส ชาวเวอร์ส หรือบูสเตอร์นั้น จะถูกตัดสินจากผลการต่อสู้กับคู่แข่งว่าแพ้หรือชนะในระหว่างทาง ในเกมบนเครื่องเล่น เกมคิวบ์ ที่ชื่อ โปเกมอนโคลอสเซียม และโปเกมอนเอ็กดี: เกลออฟดาร์คเนส ก็มีข้อยกเว้น นั้นคือในขณะที่เกมส่วนใหญ่ โปเกมอนเริ่มต้นจะเริ่มที่เลเวล 5 แต่เกมเหล่านี้จะเริ่มต้นการเดินทางที่เลเวล 10 และ 25 ตามลำดับ ใน โคลอสเซียม โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือเอฟี และแบล็คกี้ และใน เกลออฟดาร์คเนส โปเกมอนเริ่มต้นของผู้เล่นคือ อีวุย
                                                                         สมุดภาพโปเกมอน
สมุดภาพโปเกมอน (Pokédex) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมมุติในอะนิเมะและวิดีโอเกมโปเกมอน สำหรับในเกมนั้น เมื่อใดที่โปเกมอนตัวหนึ่ง ๆ ถูกจับเป็นครั้งแรก ข้อมูลของมันจะเพิ่มเข้าไปในสมุดภาพนี้ แต่ในอะนิเมะหรือมังงะนั้น สมุดภาพโปเกมอนเป็นสารานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ปกติมีไว้เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ของโปเกมอน สมุดภาพโปเกมอนยังใช้ในการอ้างอิงถึงรายชื่อโปเกมอนซึ่งโดยทั่วไปจะเรียงตามหมายเลข ในวิดีโอเกม นักฝึกโปเกมอนจะเห็นเป็นที่ว่างเปล่า ณ ขณะเริ่มต้นเกม ผู้ฝึกจะต้องพยายามเติมเต็มสมุดภาพโดยเผชิญหน้ากับโปเกมอน และจับมันให้ได้สายพันธุ์ที่แตกต่างกัน ผู้เล่นจะเห็นชื่อและรูปภาพของโปเกมอนหลังจากได้พบเจอโปเกมอนที่ไม่เคยเจอมาก่อน หลังจากการต่อสู้ ไม่ว่าจะเป็นโปเกมอนป่า หรือการต่อสู้กับผู้ฝึกคนอื่น (ยกเว้นการต่อสู้แบบเชื่อมต่อเครื่องเล่นกับผู้เล่นคนอื่น เช่นในแบทเทิลฟรอนเทียร์) ในโปเกมอนภาคเร้ดและบลู ข้อมูลโปเกมอนจะเพิ่มในสมุดภาพง่าย ๆ โดยการดูรูปโปเกมอน เช่นในสวนสัตว์นอกเขตซาฟารีโซน ตัวละคร NPC ก็อาจทำให้สมุดภาพเพิ่มข้อมูลโปเกมอนเข้าไปได้โดยการอธิบายลักษณะของโปเกมอนระหว่างการพูดคุยกัน ข้อมูลอื่น ๆ หาได้หลังจากผู้เล่นได้รับโปเกมอนสายพันธุ์นั้น ๆ แล้ว หรืออาจจะผ่านการจับโปเกมอนป่า การพัฒนาร่างของโปเกมอน การฟักไข่ (ตั้งแต่รุ่นที่สองเป็นต้นมา) หรือการแลกเปลี่ยนโปเกมอน ข้อมูลที่จะได้เห็นเหล่านั้นเช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ชนิดสายพันธุ์ และรายละเอียดสั้น ๆ ของโปเกมอน ในภาคต่อ ๆ มา สมุดภาพรุ่นใหม่อาจมีข้อมูลรายละเอียดที่มากขึ้นเช่น ขนาดของตัวโปเกมอนเปรียบเทียบกับตัวผู้ฝึก หรือรายชื่อโปเกมอนแยกตามถิ่นที่อยู่อาศัย (ข้อมูลนี้จะเห็นได้แค่ในภาคไฟร์เร้ดและลีฟกรีนเท่านั้น) สมุดภาพโปเกมอนล่าสุดสามารถจุข้อมูลของโปเกมอนทุกตัวที่รู้จักกันในปัจจุบัน เกมโปเกมอน โคลอสเซียม และโปเกมอนเอกซ์ดี:เกลออฟดาร์คเนส บนเครื่องเกมคิวบ์ มีระบบการช่วยเหลือข้อมูลโปเกมอนแบบดิจิทัล (Pokémon Digital Assistant; P★DA) ดูคล้ายกับสมุดภาพโปเกมอน แต่สามารถบอกว่าโปเกมอนรูปแบบไหนได้เปรียบหรือเสียเปรียบโปเกมอนรูปแบบไหน และยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถเฉพาะของโปเกมอนได้ด้วย[22]
                                                                    โปเกมอนฉบับอะนิเมะโปเกมอนฉบับอะนิเมะรวมถึงภาพยนตร์ดำเนินเนื้อเรื่องโดยแยกออกจากการผจญภัยต่าง ๆ ในวิดีโอเกม (ยกเว้นภาคเยลโล่ว์ ที่ดำเนินเรื่องตามเนื้อเรื่องอะนิเมะ) โปเกมอนฉบับอะนิเมะเป็นเรื่องราวภารกิจอันยิ่งใหญ่ของตัวละครหลัก "ซาโตชิ" หรือ "แอช แคทชัม" (Ash Ketchum) [23] เพื่อจะเป็นโปเกมอนมาสเตอร์ในเรื่องการฝึกโปเกมอน เขาและเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ เดินทางตามโลกที่มีโปเกมอนเต็มไปหมด[23] ในภาคแรก (original series) เริ่มต้นในวันซาโตชิได้เป็นนักฝึกโปเกมอนวันแรก โปเกมอนตัวแรกซึ่งเป็นโปเกมอนคู่หูคือพิกะจู ซึ่งแตกต่างจากเกมที่จะได้เลือกฟุชิงิดาเนะ ฮิโตะคาเงะ และเซนิกาเมะ[24] ซีรีส์นี้ดำเนินไปตามเนื้อเรื่องของเกมโปเกมอนภาคเร้ดและบลู ในเขตภูมิภาคที่ชื่อว่าคันโต ร่วมเดินทางไปกับ "ทาเคชิ" หรือ "บร็อก" (Brock) หัวหน้ายิมของเมืองนิบิ หรือพิวเตอร์ซิตี (Pewter City) และ "คาสึมิ" หรือ "มิสตี้" (Misty) น้องสาวคนสุดท้องของกลุ่มพี่น้องหัวหน้ายิมในยิมของเมืองฮานาดะ หรือเซรูเลียนซิตี (Cerulean City) ซีซันต่อมาคือ Pokémon: Adventures on the Orange Islands ซึ่งเป็นการผจญภัยในหมู่เกาะออเร้นจ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของเรื่อง และเปลี่ยนตัวละครจากทาเคชิเป็น "เค็นจิ" หรือ "เทรซีย์" (Tracey) จิตรกรและผู้ดูแลโปเกมอน ซีซันต่อมา เป็นเนื้อเรื่องของโปเกมอนรุ่นที่สอง ประกอบด้วย Pokémon: The Johto Journeys, Pokémon: Johto League Champions และ Pokémon: Master Quest ดำเนินเรื่องในเขตภูมิภาคโจโต มีตัวละครสามคนคือซาโตชิ ทาเคชิ และคาสึมิ เช่นเดิม
การผจญภัยยังคงดำเนินต่อในซีซัน Pokémon: Advanced ของซีรีส์ Pokémon: Advanced Generation ดำเนินเนื้อเรื่องตามเกมโปเกมอนรุ่นที่สาม ซาโตชิและเพื่อน ๆ เดินทางในเขตภูมิภาคโฮเอ็นซึ่งอยู่ทางใต้ ซาโตชิได้เป็นครูและผู้ให้คำปรึกษาให้กับนักฝึกโปเกมอนมือใหม่ที่ชื่อ "ฮารุกะ" หรือ "เมย์" (May) น้องชายของเธอ "มาซาโตะ" หรือ "แม็กซ์" (Max) ก็ร่วมเดินทางด้วย แต่ไม่ได้เป็นนักฝึกโปเกมอน แต่เขากลับรู้ข้อมูลโปเกมอนมากมาย ในซีรีส์นี้ ทาเคชิก็มาร่วมเดินทางกับซาโตชิ แต่คาสึมิต้องกลับไปที่ยิมฮานาดะเพื่อทำหน้าที่เป็นหัวหน้ายิม (คาสึมิ รวมถึงตัวละครอื่น ยังปรากฏในซีรีส์พิเศษ Pokémon Chronicles ด้วย) ต่อด้วยซีซัน Pokémon: Advanced Challenge, Pokémon: Advanced Battle และจบซีรีส์ด้วยซีซัน Pokémon: Battle Frontier ยึดหลักตามเนื้อเรื่องเกมภาคเอเมอรัลด์และมุมมองลักษณะของเกมภาคไฟร์เร้ดและลีฟกรีน
ซีรีส์ต่อไปคือโปเกมอน Diamond and Pearl โดยซีรีส์นี้มาซาโตะ น้องชายของฮารุกะ ได้ออกจากกลุ่มเพื่อเลือกโปเกมอนเริ่มต้นและออกเดินทางด้วยตัวเอง และฮารุกะได้ไปเข้าร่วมเทศกาล Grand Festival ที่โจโต ซาโตชิ ทาเคชิ และเพื่อนคนใหม่ "ฮิคาริ" หรือ "ดอว์น" (Dawn) ร่วมออกเดินทางไปตามภูมิภาคซินโน
ซีรีส์ล่าสุดคือโปเกมอน Best Wishes โดยซีรีส์นี้ฮิคาริและทาเคชิได้ออกจากกลุ่ม หลังจากที่ทาเคชิร่วมเดินทางด้วยกันมานานตั้งแต่ซีรีส์แรก ซาโตชิได้เจอเพื่อนใหม่ "ไอริส" (Iris) และ "เดนโตะ" หรือ "ไซแลน" (Cilan) คู่หูคนใหม่และร่วมออกเดินทางไปตามภูมิภาคอิชชู
นอกจากซีรีส์ทางโทรทัศน์ ยังมีโปเกมอนฉบับภาพยนตร์สร้างขึ้นทั้งหมด 15 ภาค โดยโปเกมอนสองภาคที่ชื่อ Pokémon the Movie: Black—Victini and Reshiram และ White—Victini and Zekrom นั้นถือว่าเป็นภาคเดียวกัน ปัจจุบันภาพยนตร์ภาคที่ 16 กำลังอยู่ในกระบวนการสร้าง ในโปเกมอนฉบับภาพยนตร์บางภาค ยังมีการสะสมสินน้ำใจ เช่นการ์ดเกม ให้สะสมด้วย
การ์ตูนโปเกมอนนั้นมีหลายภาค จนถึงทุกวันนี้ โปเกมอนยังไม่มีตอนจบ การ์ตูนเรื่องนี้ถูกผลิตเพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายตอน แบ่งได้เป็นหลายภาค โดยภาคแรกนั้นเป็นแบบฉบับดั้งเดิม (Original series) จำนวน 276 ตอน[25] ภาคต่อไปคือ แอดวานซ์ เจเนอเรชัน (Advance Generation) หรือ AG จำนวน 192 ตอน[26] ภาคต่อไปคือ ไดมอนด์ แอนด์ เพิร์ล (Diamond & Pearl) หรือ DP จำนวน 191 ตอน[27] และภาคล่าสุดคือ เบสท์ วิช (Best Wishes!) หรือ BW ซึ่งทางญี่ปุ่นได้ฉายตอนแรกเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553[28]
การ์ตูนโปเกมอนนั้นแบ่งตามซีซันได้ทั้งหมด 16 ซีซัน[29] ดังนี้
การ์ตูนโปเกมอนภาคแรก (Original series) เป็นการผจญภัยในเขตคันโตและโจโต แบ่งภาคเป็นซีซันได้ 5 ซีซัน ดังนี้[25]
การ์ตูนโปเกมอนภาค Advanced Generation เป็นการผจญภัยในเขตโฮเอน แบ่งภาคเป็นซีซันได้ 4 ซีซัน ดังนี้[26]
  • ซีซันที่ 6 Pokémon: Advanced (AG001 - AG040) (EP277 - EP316) รวมทั้งสิ้น 40 ตอน
  • ซีซันที่ 7 Pokémon: Advanced Challenge (AG041 - AG092) (EP317 - EP368) รวมทั้งสิ้น 52 ตอน
  • ซีซันที่ 8 Pokémon: Advanced Battle (AG093 - AG145) (EP369 - EP421) รวมทั้งสิ้น 53 ตอน
  • ซีซันที่ 9 Pokémon: Battle Frontier (AG146 - AG192) (EP422 - EP468) รวมทั้งสิ้น 47 ตอน
การ์ตูนโปเกมอนภาค Diamond & Pearl เป็นการผจญภัยในเขตซินโน แบ่งภาคเป็นซีซันได้ 4 ซีซัน ดังนี้[27]
  • ซีซันที่ 10 Pokémon: Diamond and Pearl (DP001 - DP052) (EP469 - EP520) รวมทั้งสิ้น 52 ตอน
  • ซีซันที่ 11 Pokémon: Diamond and Pearl: Battle Dimension (DP053 - DP104) (EP521 - EP572) รวมทั้งสิ้น 52 ตอน
  • ซีซันที่ 12 Pokémon: Diamond and Pearl: Galactic Battles (DP105 - DP157) (EP573 - EP625) รวมทั้งสิ้น 53 ตอน
  • ซีซันที่ 13 Pokémon: Diamond and Pearl: Sinnoh League Victors (DP158 - DP191) (EP626 - EP659) รวมทั้งสิ้น 34 ตอน
การ์ตูนโปเกมอนภาค Best Wishes! เป็นการผจญภัยในเขตอิชชู แบ่งภาคเป็นซีซันได้จนถึงขณะนี้ 3 ซีซัน ดังนี้[28]